เด็กฝึกงาน

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้าวโพดหวานส่งออก

ข้าวโพดหวาน

           ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมี คุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป


ฤดูปลูก
          ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด -ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน

 อุณหภูมิที่เหมาะสม
          ในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง

ประโยชน์ทางการแพทย์
           ข้าวโพด สุกสามารถต้านมะเร็งโดยมีสารตัวล้างพิษมากกว่าผักผลไม้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐฯรายงานในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกา ว่าข้าวโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายสูงขึ้นได้อย่างเด่นชัด เขาเผยว่าผิดกับที่เคยเชื่อกันมาก่อนว่าผักและผลไม้หากต้มปรุงสุกแล้วจะเสียคุณค่าทางอาหารลงไป สู้กินดิบๆ ไม่ได้แต่ข้าวโพดหวานยังคงสามารถเก็บพลังเป็นตัวล้างพิษคงไว้ได้แม้ว่าจะเสียวิตามินซีไปเขาได้พบในการต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียสในเวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้มันมีสารอันเป็นตัวล้างพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22, 44 และ 53เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
           นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารที่ออกฤทธิ์เป็นตัวล้างพิษช่วยดับพิษของพวกอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นอันตรายกับเซลล์ของอวัยวะต่างๆทั้งยังมีส่วนเกี่ยวพันกับโรคอันเนื่องมาจากความแก่ชราต่างๆอย่างเช่น ต้อกระจก และโรคสมองเสื่อมอีกด้วย   คณะนักวิจัยแจ้งว่า ข้าวโพดหวานที่ต้มหรือปิ้งจะปล่อยสารประกอบที่เรียกว่ากรดเฟรุลิก อันเป็นคุณกับร่างกาย ยิ่งมากขึ้นเมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเวลานานขึ้นกรดเฟรุลิกเป็นพวก พฤกษ์เคมีซึ่งในผักและผลไม้มีอยู่ไม่มากนักแต่กลับพบมีอยู่อย่างอุดมในข้าวโพดผสมปนเปรวมอยู่กับอย่างอื่นการทำให้มันสุกจึงช่วยทำให้มันปล่อยกรดเฟรลิกออกมาได้มากขึ้น


                ไทยถือเป็นผู้ผลิต/ผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องรายสำคัญทั้งในตลาดโลกและในตลาดยุโรป (ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญมี 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮังการี ฝรั่งเศส และไทย) โดยในช่วงปี 2006 ไทยมีอัตราการส่งออกเพิ่มสูงสุดถึง 20% เมื่อเทียบกับประเทศอื่น (ปริมาณ 125,000 เมตริกตัน)

การผลิตและการบริโภคในตลาดยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
             - การผลิต ฝรั่งเศสและฮังการีเป็นผู้ผลิตข้าวโพดหวาน 95% ทั้งสำหรับบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง โดยฝรั่งเศสมีประสิทธิภาพ การผลิตสูงสุด 19.7 ตันต่อเฮกตาร์ (ไทย 7.8 ตันต่อเฮกตาร์) อย่างไรก็ดี การแข่งขันในตลาดยุโรปที่สูงขึ้นจากสินค้าข้าวโพดหวานของไทยทำให้ฝรั่งเศส และฮังการีลดพื้นที่เพาะปลูกลงในช่วงปี 2006 แต่หลังจากที่ไทยโดนเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (AD duty) การส่งออกจากไทยลดลง 10% ทำให้ฝรั่งเศสและฮังการีเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้ 10% และ 14% ตามลำดับ การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 3 ปีถัดไป (ประมาณการผลิต 392,000 เมตริกตันในปี 2011)

           - การบริโภค ผู้บริโภคข้าวโพดหวานกระป๋องรายสำคัญในตลาดยุโรปได้แก่ เยอรมนี (30%) ฝรั่งเศส (27%) และ UK (22%) การบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 3 ปีถัดไป (ประมาณการบริโภค 334,000 เมตริกตันในปี 2011)

ส่วนแบ่งตลาดข้าวโพดหวาน
            จากไทยในยุโรป ในปี 2006 ปริมาณ 36,000 เมตริกตัน มูลค่า 1,130 ล้านบาท ส่งออกมายังยุโรปเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับการส่งออกจากประเทศนอก EU ทั้งหมด (14%) โดยได้ชี้ให้เห็นโอกาสสำหรับ ข้าวโพดหวานจากไทยว่า (1) ควรทำการส่งเสริมข้าวโพดหวานอินทรีย์ (2) แม้ว่าจะไม่มีความคาดหวังเรื่องความหลากหลายในรสชาติ แต่ก็อาจเป็นช่องทางหนึ่งในการส่งเสริมข้าวโพดหวานในตลาดยุโรป (3) ส่งเสริมสินค้าในเยอรมนี UK และสเปน เนื่องจากเป็นปท.ผู้ซื้อรายสำคัญ
ข้อควรระวัง ได้แก่ (ก.) การโดนเรียกเก็บ AD duty ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง (ข.) ข้าวโพด GMO (Bt-11) จะได้รับอนุญาตนำเข้ามา EU ซึ่งอาจทำให้การส่งออกจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น (ค.) สินค้าจากจีนมีราคาดีกว่า และไม่ถูกเรียกเก็บ AD duty

สถิติการนำเข้า/ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศต่างๆ ในยุโรป และช่องทางการจัดจำหน่าย
             ชี้ว่าประเทศผู้นำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ (UK เยอรมนี สเปน เบลเยียม สวีเดน) ราคาซื้อจากผู้ค้าปลีกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก มีช่องทางการจำหน่ายโดยสรุปปรากฏใน Figure 12 โดยผู้ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่ง (wholesalers) หรือผู้นำข้าวโพดหวานเพื่อไปผ่านกระบวนการต่อไป (processors) สำหรับนำไปจำหน่ายยังช่องทางต่างๆ เช่น supermarket

Consumers’ perception
                 ผู้บริโภคในยุโรปส่วนใหญ่ใช้ข้าวโพดหวานในการทำสลัดและส่วนใหญ่บริโภคในรูปแบบข้าวโพดหวานกระป๋อง ลักษณะและรสชาติมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภคยังต้องการข้อมูลที่เกี่ยวกับสูตรอาหารที่ใช้ข้าวโพดหวานบนสลาก ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม

ตลาดเป้าหมาย
                  บริษัทผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าตลาดเป้าหมายซึ่งมีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดสูงประกอบด้วย UK เยอรมนี และสเปน



วิเคราะห์ SWOT เนื่องจากเป็นผู้ส่งออกไปยังประเทศอังกฤษ
       Strengths (จุดแข็ง)   
             1. ประเทศไทยส่งออกข้าวโพดเป็นอันดับ4ของโลกเพราะมีความเหมาะสมของสภาพดิน         ภูมิอากาศและอุณหภูมิ โดยปลูกมากในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก 
             2. ประเทศไทยมีข้าวโพดอยุ่หลากหลายสายพันธุ์สามรถเจาะตลาดรายใหญ่ในแถบยุโรป เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมันนี สเปน และอังกฤษ ได้ดีโดยทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น    น้ำข้าวโพดและอื่นๆเพื่อส่งออก
       Weaknesses (จุดอ่อน) 
             1. กลุ่มผู้ส่งออกข้าวโพดมีอยู่หลายประเทศ  เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายและสามารถปลูกได้ในทุกสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิเหมาะสม  จึงเกิดการแข่งขันของตลาดระหว่างประเทศสูง   
             2. เนื่องจากมีหลายประเทศที่อังกฤษนำเข้าข้าวโพด ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา  เราอาจไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ
      Opportunities (โอกาส)  
             1. อังกฤษเป็นประเทศที่มีความสามารถนำเข้าข้าวโพด  จึงเป็นโอกาสที่ไทยเราจะส่งออกได้ในปริมาณมาก
             2. อังกฤษมีความนิยมในการบริโภคข้าวโพด ดังนั้นข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่ๆของไทยจะทำให้เราเจาะตลาดของอังกฤษได้แน่นอน
        Threats (อุปสรรค)      
             1. เนื่องจากมีหลายประเทศที่มีความสามารถส่งออกข้าวโพด และต้องการขยายตลาดสู่อังกฤษ การเจาะตลาดจึงเป็นไปค่อนข้างยาก เพราะมีการแข่งขันสูง
             2. ราคาในการค้าอาจไม่ได้ผลกำไรตามที่ต้องการ  เนื่องจากการแข่งขันทางด้านผลิตภัณฑ์และราคาของตลาด
<แก้ไขแล้ว>


แหล่งที่มา

http://news.thaieurope.net/content/view/2918/213/
http://www.google.co.th/imglanding?imgurl=http://www.tublee.com/upload/image/content/S090328E5U1657.jpg&imgrefurl=http://www.tublee.com/news-
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/research/20090828/72936

10 ความคิดเห็น:

  1. สินค้าน่าสนใจมากคะ จัดรูปแบบได้สวยดีคะ

    ตอบลบ
  2. สินค้าน่าสนใจ มีรายละเอียดดีครบถ้วน น่าอ่าน คร้า

    ตอบลบ
  3. ตรงวิเคราะSWOT อะ ไมตัวเล็กจัง

    ตอบลบ
  4. สีสันน่าอ่าน แต่ตัวหนังสือเล็กไปหน่อยจ๊ะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาน่าอ่าน..น่ารักดีจ้า

    ตอบลบ
  6. ข้อมูลสุดโค่ยยยยยยยเลย เยี่ยมมาก

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาดีมากๆๆๆๆๆๆเลย

    อยากกินข้าวโพดดดดดดดดดดดดด

    ตอบลบ