เด็กฝึกงาน

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

จงเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิและMK
1.ค้นหาความต้องการของลูกค้าระดับโลก  คือทำการวิจัยให้บริษัทเข้าใจความต้องการของลูกค้าตลอดจนทราบความแตกต่างของลูกค้า  ของแต่ละประเทศเพื่อนำผลมาพัฒนาและปรับปรุงให้สามารถเข้าสู่ตลาดในประเทศนั้นๆได้
2.ตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก  โดยใช้ประกอบกับส่วนประสมทางการตลาด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุด
3.การทำให้มีคุณภาพและมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่ง เพื่อความสำเร็จระยะยาว
4.ฟูจิและMK เป็นธุรกิจร้านอาหารที่มีชื่อเสียง ด้วยคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศทำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของคนไทยและต่างชาติมานาน  ดังนั้นหากมีการขยายสาขาไปยังต่างประเทศจึงควรรักษาระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นไปเพื่อเอาใจทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้ารายใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงโลโก้จะส่งผลต่อการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงโลโก้จะส่งผลต่อยอดขายในช่วงแรกๆ  เพราะผู้บริโภคสับสนและไม่แน่ใจในคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ที่อาจเปลี่ยนไปตามโลโก้ แต่หากStore ยังคงรักษามาตรฐานให้อยู่คงเดิมหรือมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ผู้บริโภคก็ยังคงใช้บริการเช่นเดิม คือเป็นลูกค้าเก่านั่นเอง ดังนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดพียงช่วงแรกๆในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นเอง ถ้ามีการPR  การเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่ของ Store ก่อนจะส่งผลกระทบต่อตลาดน้อยลง

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย



ความรู้สึกจากการรับประทานขนมอินเดีย

       1. เป็นขนมที่มีรูปร่างหน้าตาแปลก  แตกต่างจากขนมไทยหรือเบเกอรี่
       2. แข็งกรอบไม่นิ่มไม่ฟู 
       3. รูปทรงส่วนใหญ่เป็นทรงกลมๆและวงรี  
       4. รสชาติเน้นความมัน หวาน  
       5. มีกลิ่นฉุนไม่หอม ทานแล้วรู้สึกว่าไม่อร่อย

จากร้านหลังห้างอินเดีย



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้าวโพดหวานส่งออก

ข้าวโพดหวาน

           ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมี คุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป


ฤดูปลูก
          ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด -ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน

 อุณหภูมิที่เหมาะสม
          ในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง

ประโยชน์ทางการแพทย์
           ข้าวโพด สุกสามารถต้านมะเร็งโดยมีสารตัวล้างพิษมากกว่าผักผลไม้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐฯรายงานในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกา ว่าข้าวโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายสูงขึ้นได้อย่างเด่นชัด เขาเผยว่าผิดกับที่เคยเชื่อกันมาก่อนว่าผักและผลไม้หากต้มปรุงสุกแล้วจะเสียคุณค่าทางอาหารลงไป สู้กินดิบๆ ไม่ได้แต่ข้าวโพดหวานยังคงสามารถเก็บพลังเป็นตัวล้างพิษคงไว้ได้แม้ว่าจะเสียวิตามินซีไปเขาได้พบในการต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียสในเวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้มันมีสารอันเป็นตัวล้างพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22, 44 และ 53เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
           นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารที่ออกฤทธิ์เป็นตัวล้างพิษช่วยดับพิษของพวกอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นอันตรายกับเซลล์ของอวัยวะต่างๆทั้งยังมีส่วนเกี่ยวพันกับโรคอันเนื่องมาจากความแก่ชราต่างๆอย่างเช่น ต้อกระจก และโรคสมองเสื่อมอีกด้วย   คณะนักวิจัยแจ้งว่า ข้าวโพดหวานที่ต้มหรือปิ้งจะปล่อยสารประกอบที่เรียกว่ากรดเฟรุลิก อันเป็นคุณกับร่างกาย ยิ่งมากขึ้นเมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเวลานานขึ้นกรดเฟรุลิกเป็นพวก พฤกษ์เคมีซึ่งในผักและผลไม้มีอยู่ไม่มากนักแต่กลับพบมีอยู่อย่างอุดมในข้าวโพดผสมปนเปรวมอยู่กับอย่างอื่นการทำให้มันสุกจึงช่วยทำให้มันปล่อยกรดเฟรลิกออกมาได้มากขึ้น


                ไทยถือเป็นผู้ผลิต/ผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องรายสำคัญทั้งในตลาดโลกและในตลาดยุโรป (ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญมี 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮังการี ฝรั่งเศส และไทย) โดยในช่วงปี 2006 ไทยมีอัตราการส่งออกเพิ่มสูงสุดถึง 20% เมื่อเทียบกับประเทศอื่น (ปริมาณ 125,000 เมตริกตัน)

การผลิตและการบริโภคในตลาดยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
             - การผลิต ฝรั่งเศสและฮังการีเป็นผู้ผลิตข้าวโพดหวาน 95% ทั้งสำหรับบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง โดยฝรั่งเศสมีประสิทธิภาพ การผลิตสูงสุด 19.7 ตันต่อเฮกตาร์ (ไทย 7.8 ตันต่อเฮกตาร์) อย่างไรก็ดี การแข่งขันในตลาดยุโรปที่สูงขึ้นจากสินค้าข้าวโพดหวานของไทยทำให้ฝรั่งเศส และฮังการีลดพื้นที่เพาะปลูกลงในช่วงปี 2006 แต่หลังจากที่ไทยโดนเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (AD duty) การส่งออกจากไทยลดลง 10% ทำให้ฝรั่งเศสและฮังการีเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้ 10% และ 14% ตามลำดับ การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 3 ปีถัดไป (ประมาณการผลิต 392,000 เมตริกตันในปี 2011)

           - การบริโภค ผู้บริโภคข้าวโพดหวานกระป๋องรายสำคัญในตลาดยุโรปได้แก่ เยอรมนี (30%) ฝรั่งเศส (27%) และ UK (22%) การบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 3 ปีถัดไป (ประมาณการบริโภค 334,000 เมตริกตันในปี 2011)

ส่วนแบ่งตลาดข้าวโพดหวาน
            จากไทยในยุโรป ในปี 2006 ปริมาณ 36,000 เมตริกตัน มูลค่า 1,130 ล้านบาท ส่งออกมายังยุโรปเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับการส่งออกจากประเทศนอก EU ทั้งหมด (14%) โดยได้ชี้ให้เห็นโอกาสสำหรับ ข้าวโพดหวานจากไทยว่า (1) ควรทำการส่งเสริมข้าวโพดหวานอินทรีย์ (2) แม้ว่าจะไม่มีความคาดหวังเรื่องความหลากหลายในรสชาติ แต่ก็อาจเป็นช่องทางหนึ่งในการส่งเสริมข้าวโพดหวานในตลาดยุโรป (3) ส่งเสริมสินค้าในเยอรมนี UK และสเปน เนื่องจากเป็นปท.ผู้ซื้อรายสำคัญ
ข้อควรระวัง ได้แก่ (ก.) การโดนเรียกเก็บ AD duty ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง (ข.) ข้าวโพด GMO (Bt-11) จะได้รับอนุญาตนำเข้ามา EU ซึ่งอาจทำให้การส่งออกจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น (ค.) สินค้าจากจีนมีราคาดีกว่า และไม่ถูกเรียกเก็บ AD duty

สถิติการนำเข้า/ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศต่างๆ ในยุโรป และช่องทางการจัดจำหน่าย
             ชี้ว่าประเทศผู้นำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ (UK เยอรมนี สเปน เบลเยียม สวีเดน) ราคาซื้อจากผู้ค้าปลีกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก มีช่องทางการจำหน่ายโดยสรุปปรากฏใน Figure 12 โดยผู้ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่ง (wholesalers) หรือผู้นำข้าวโพดหวานเพื่อไปผ่านกระบวนการต่อไป (processors) สำหรับนำไปจำหน่ายยังช่องทางต่างๆ เช่น supermarket

Consumers’ perception
                 ผู้บริโภคในยุโรปส่วนใหญ่ใช้ข้าวโพดหวานในการทำสลัดและส่วนใหญ่บริโภคในรูปแบบข้าวโพดหวานกระป๋อง ลักษณะและรสชาติมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภคยังต้องการข้อมูลที่เกี่ยวกับสูตรอาหารที่ใช้ข้าวโพดหวานบนสลาก ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม

ตลาดเป้าหมาย
                  บริษัทผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าตลาดเป้าหมายซึ่งมีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดสูงประกอบด้วย UK เยอรมนี และสเปน



วิเคราะห์ SWOT เนื่องจากเป็นผู้ส่งออกไปยังประเทศอังกฤษ
       Strengths (จุดแข็ง)   
             1. ประเทศไทยส่งออกข้าวโพดเป็นอันดับ4ของโลกเพราะมีความเหมาะสมของสภาพดิน         ภูมิอากาศและอุณหภูมิ โดยปลูกมากในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก 
             2. ประเทศไทยมีข้าวโพดอยุ่หลากหลายสายพันธุ์สามรถเจาะตลาดรายใหญ่ในแถบยุโรป เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมันนี สเปน และอังกฤษ ได้ดีโดยทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น    น้ำข้าวโพดและอื่นๆเพื่อส่งออก
       Weaknesses (จุดอ่อน) 
             1. กลุ่มผู้ส่งออกข้าวโพดมีอยู่หลายประเทศ  เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายและสามารถปลูกได้ในทุกสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิเหมาะสม  จึงเกิดการแข่งขันของตลาดระหว่างประเทศสูง   
             2. เนื่องจากมีหลายประเทศที่อังกฤษนำเข้าข้าวโพด ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา  เราอาจไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ
      Opportunities (โอกาส)  
             1. อังกฤษเป็นประเทศที่มีความสามารถนำเข้าข้าวโพด  จึงเป็นโอกาสที่ไทยเราจะส่งออกได้ในปริมาณมาก
             2. อังกฤษมีความนิยมในการบริโภคข้าวโพด ดังนั้นข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่ๆของไทยจะทำให้เราเจาะตลาดของอังกฤษได้แน่นอน
        Threats (อุปสรรค)      
             1. เนื่องจากมีหลายประเทศที่มีความสามารถส่งออกข้าวโพด และต้องการขยายตลาดสู่อังกฤษ การเจาะตลาดจึงเป็นไปค่อนข้างยาก เพราะมีการแข่งขันสูง
             2. ราคาในการค้าอาจไม่ได้ผลกำไรตามที่ต้องการ  เนื่องจากการแข่งขันทางด้านผลิตภัณฑ์และราคาของตลาด
<แก้ไขแล้ว>


แหล่งที่มา

http://news.thaieurope.net/content/view/2918/213/
http://www.google.co.th/imglanding?imgurl=http://www.tublee.com/upload/image/content/S090328E5U1657.jpg&imgrefurl=http://www.tublee.com/news-
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/research/20090828/72936

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)"

  การค้าระหว่างประเทศ
                คือ การส่งสินค้าของประเทศหนึ่งผ่านพรมแดนไปขายให้ประเทศอื่น ๆ ที่ต้องการสินค้าของประเทศนั้น เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การส่งออก(Export : X)" อีกด้านของการค้าระหว่างประเทศ ก็คือ การซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ผ่านเขตแดนเข้าในประเทศ เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า "การนำเข้า(Import : X)"
               การค้าระหว่างซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นไปตาม หลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Comparative Advantage) ของเดวิด ริคาร์โด(ค.ศ.1817) ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเกี่ยวกับหลักความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Absolute Advantage) ของอดัม สมิธ (ค.ศ.1776)ประเทศที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นก็คือ การให้แต่ละประเทศเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนเองทำได้ดี ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ แล้วค่อยทำการค้ากัน                                   
               สรุปคือ การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากรต่างกัน และการมีความสามารถในการผลิตหรือมีความได้เปรียบในการผลิตไม่เหมือนกันนั่นเอง
การตลาดระหว่างประเทศ
               คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
               สิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด

การศึกษาของประเทศอังกฤษ

รูปแบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ
    ระบบการศึกษาในเครือจักรภพอังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ปีถึง16 ปี เด็กนักเรียนประมาณ 95% จะเรียนในโรงเรียนรัฐบาล สำหรับผู้ปกครองที่มีฐานะดีและมีรสนิยมสูงมักส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ส่วนนักเรียนต่างชาตินั้นมีสิทธิลงเรียน      
ในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น
ปีการศึกษา
                  ภาคการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับในราชอาณาจักร เริ่มต้นภาคแรก ในราวปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคมของปีที่หนึ่ง และสิ้นสุดราวปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคมของปีถัดไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
  • ภาคต้น (Autumn Term) เริ่มปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม
  • ภาคกลาง (Spring Term) เริ่มกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม
  • ภาคปลาย (Summer Term) เริ่มปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
ระดับประถมศึกษา
                          รับนักเรียนอายุ 5-13 ปี โดยการเรียนการสอนจะเน้นให้เด็ก มีทักษะในการเขียนและทักษะด้านตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ความสามารถตามวัย
  • ระดับเตรียมประถมศึกษา (Pre - Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 5 -7 ปี
  • ระดับประถมศึกษา (Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 8 -13 ปี



ระดับมัธยมศึกษา
                        โรงเรียนมัธยมของเอกชน หรือ Public School รับนักเรียนตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปที่สอบผ่าน CEE แล้วเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนส่วนมาก เป็นมูลนิธิหรือสถานประกอบการที่มิได้หวังผลกำไร โดยรายได้ของโรงเรียนนั้น มาจากค่าธรรมเนียมการศึกษาและเงินบริจาค โรงเรียนประเภทนี้มีให้เลือกทั้งแบบชายล้วน หญิงล้วน และสหศึกษา ทั้งแบบประจำและไป-กลับ มีโรงเรียนบางแห่ง เปิดสอนเฉพาะนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ เช่น ทางด้านดนตรี กีฬาด้วย



ระดับอุดมศึกษา

                                                                       
หลักสูตรระดับอุดมศึกษา สามารถแบ่งออกเป็น

Undergraduate

  • BTEC HNC/HND หรือ Diploma of Higher Education (Dip. HE)
เป็นหลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่จะเปิดสอนอยู่ใน College of Higher Education โดยมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับเปิดรับผู้สอบ "A" Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma การสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับในระดับปริญญาตรี
  • First Degree (Bachelor Degree)
เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)
Post - Graduate การศึกษาในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  • Post - Graduate Certificate Diploma
หลักสูตรการศึกษา 9 เดือนถึง 1 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ
  • Master Degree
หลักสูตรการศึกษา 1-2 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี
  • Doctoral Degree

หลักสูตรการทำวิจัย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร M. Phil
แหล่งที่มาของข้อมูล : www.google.com .
http://england.educatepark.com/education/system-education.php